ความแตกต่างควรรู้ของ “โปรไบโอติก” VS “ยาถ่าย” 

โปรไบโอติก กับ ยาถ่าย แตกต่างกันอย่างไร

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าการขับถ่ายในทุก ๆ วันเป็นเรื่องยาก ในสัปดาห์มี 7 วัน บางคนถ่ายทุกเช้า บางคนถ่ายทุกวัน สบายโล่งท้อง ส่วนคุณเอง 7 วัน จะถ่ายสัก 2-3 วัน แถมพอนึกถึงช่วงเวลาที่ต้องขับถ่ายแล้วก็รู้สึกเหนื่อยทันที ยิ่งสัปดาห์ไหนไม่ถ่ายติดกันหลายวันมันยิ่งสะสม ทำให้รู้สึกอึดอัดท้อง ไม่สบายตัว คุณอาจจะเข้าข่าย ภาวะท้องผูก

แต่ก็ไม่ต้องถึงกับต้องคำนวนนับวันเวลาว่าเราถ่ายน้อยกว่ากี่ครั้งต่อสัปดาห์ แล้วจะต้องเข้าข่ายกับภาวะท้องผูกนะ เพราะอาการท้องผูกเนี่ย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการขับถ่ายเสมอไป การขับถ่ายมีการแปรปรวนไม่เหมือนกันในแต่ละคน ตราบใดที่เราสามารถถ่ายได้อย่างสบาย ๆ  ไร้กังวล ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แม้ 2-3 วัน จะถ่ายสักครั้ง ก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

แต่ถ้าเมื่อไรที่เรารู้สึกว่า เราถ่ายไม่สุดเหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ ต้องใช้น้ำฉีดช่วย ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง อาการคร่าว ๆ เหล่านี้พอที่จะบ่งบอกได้ว่าคุณมีอาการท้องผูกอย่างแน่นอน และปัจจุบันพอความรู้ทางการแพทย์แพร่หลายมากขึ้น หลาย ๆคนเริ่มศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหานี้ หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า “เมื่อท้องผูก ระหว่างทานยาระบายแบบเดิม ๆ กับทานโปรไบโอติกแบบไหนดีกว่ากัน”

ทำความรู้จักกับ “ยาถ่าย” ที่ไม่ควรกินเยอะจนเกินไป

การพึ่งยาถ่ายอาจจะเป็นทางเลือกแรก ๆ เพราะมีสรรพคุณกระตุ้นลำไส้ใหญ่โดยตรง ทำให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหวมากขึ้น ส่งผลให้อุจจาระนุ่ม ขับถ่ายง่าย แต่พอใช้ต่อเนื่องนาน ๆ เข้าก็เคยชินกับการถ่ายด้วยยา อาจจะทำให้ลำไส้ติดการกระตุ้นจากยาถ่าย จนลำไส้ทำงานเองไม่เป็น นั้นก็หมายถึงถ้าไม่มียาถ่าย ลำไส้ก็จะไม่ทำงานเลย 

ท้ายที่สุดแล้วแม้จะกินยาถ่ายก็ไม่สามารถกระตุ้นให้ขับถ่ายได้ กลายเป็นโรคลำไส้แปรปรวน ท้องผูกเรื้อรัง ดังนั้น ไม่ควรใช้ยาถ่ายพร่ำเพรื่อ ควรอย่างระมัดระวัง ใช้แต่พอเหมาะพอควร หรือตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น 

“โปรไบโอติก” ตัวเลือกระยะยาวเพื่อลำไส้ที่ดีของคุณ

ส่วนโปรไบโอติกนั้น (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่อาศัยอยู่ในหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ในทางเดินอาหารจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้เพื่อผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดี ทำให้ลำไส้แข็งแรง ง และมีส่วนช่วยในการทำงานของลำไส้ โดยสังเคราะห์กรดอะมิโนที่จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ผลิตแก๊สที่ช่วยผลักดันอุจจาระและขจัดเชื้อโรคออกจากลำไส้ เพิ่มมวลและความนุ่มให้กับอุจจาระ ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก

แบบนี้เราควรเลือกอะไรดี

จากทั้งหมดนี้เราอาจจะสรุปได้ว่า ยาถ่าย และโปรไบโอติก แม้ว่าจะให้ผลลัพธ์ที่คล้ายกัน คือเป็นตัวช่วยระบายได้เหมือนกัน ยาถ่ายนั้นอาจจะให้ผลที่ไวกว่า แต่เมื่อใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานก็ส่งผลเสียต่อเราได้ ส่วนโปรไบโอติกนั้น เป็นจุลินทรีย์ธรรมชาติ ที่มีส่วนช่วยให้ระบบทางเดินอาหารและระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสมดุล และช่วยในการดูดซึมสารอาหาร และการรักษาภาวะที่ผิดปกติของร่างกาย

สุดท้ายจำไว้ว่าการจะมีสุขภาพดีแบบครบองค์รวม จะต้องดูแลจากภายในด้วยการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติและมีอย่างเพียงพอ พฤติกรรมใด ๆ ที่ถือเป็นการรบกวน และกระตุ้นให้จุลินทรีย์ชนิดดีนี้ลดลง ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน เพราะเมื่อจุลินทรีย์ลดลงจนเหลือน้อยก็เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสให้ร่างกายขาดความสมดุล และผิดปกติ รวมทั้งเสี่ยงที่จะมีได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งการรับประทานโปรไบโอติกส์ทั้งจากอาหาร หรือ Lish Flora ตัวช่วยดูแลระบบขับถ่ายของคุณให้กลับมาดูดีอีกครั้ง นอกจากช่วยในเรื่องการขับถ่ายแล้ว โปรไบโอติกยังสามารถช่วยลดพุงได้อีกด้วย นี่คือข้อดีของโปรไบโอติกที่ดีมาก ๆ ยิ่งกว่ายาถ่าย

อ้างอิง Interpharma Thailand, Mega we care for your wellness, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, ชีวจิต

Copyright © 2024 Lish Thailand Official