“โปรไบโอติก” รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้อักเสบ หรือที่เราคุ้นๆกัน IBD (inflammatory bowel disease) เป็นกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเกิดการอักเสบที่เยื่อบุผนังบริเวณลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร ผู้ป่วยมักมีอาการท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระเหลวเป็นน้ำ ปวดท้อง อ่อนเพลียได้ง่าย และในบางครั้งการขับถ่ายก็จะมีเลือดปนออกมาด้วย ปัจจุบันสาเหตุของการเกิดโรคอาจจะยังไม่ทราบได้อย่างแน่ชัด ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรคลำไส้อักเสบมักเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกิดการติดเชื้อ และร่างกายตอบสนองผิดปกติต่อจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ นอกจากการรักษาด้วยยาและการผ่าตัดแล้ว โปรไบโอติกเป็นอีกหนึ่งการรักษาทางเลือกที่มีการยอมรับและการศึกษามากขึ้นในปัจจุบัน การศึกษาหรืองานวิจัยต่างๆชี้ให้เห็นว่าจุลินทรีย์ในลำไส้มีบทบาทสำคัญต่อการรักษาและบรรเทาอาการของโรคลำไส้อักเสบได้ มีการศึกษาเบื้องต้นในประเทศอังกฤษ ได้ทำการรักษาโรคลำไส้อักเสบด้วยซินไบโอติก (Bifidobacterium longum + Prebiotics) ทำการทดลองกับอาสาสมัครจำนวน 18 คน โดยแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก จะได้รับซินไบโอติก และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุม จะได้รับยาหลอก ทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 1 เดือน ผลที่ได้คือ กลุ่มที่ได้รับซินไบโอติกมีลักษณะการอักเสบที่เยื่อบุลำไส้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก งานวิจัยของ zocco แพทย์ชาวอิตาลี่ที่ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของ lactobacillus rhamnosus ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบ โดยทำการทดลองกับอาสาสมัครที่เป็นโรคลำไส้อักเสบจำนวน 187 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกจะได้รับ L. rhamnosus 18×109 CFU/วันกลุ่มที่ 2 จะได้รับยาเมซาลามีน (Mesalamine) 800 mg. 3 ครั้ง/วัน *ยาป้องกันอาการกำเริบของโรคลำไส้อักเสบกลุ่มที่ 3 จะได้รับ L. rhamnosus 18×109 CFU ร่วมกับยาเมซาลามีน (Mesalamine) 2400 mg ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 12 เดือน ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ได้รับ L. rhamnosus ช่วยยืดระยะเวลาไม่ให้อาการของโรคกำเริบขึ้นมาได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาเมซาลามีน (Mesalamine) การใช้ยามักมีผลข้างเคียงตามาอยู่เสมอ อย่างในยาเมซาลามีน (Mesalamine) ผลข้างเคียงที่จะตามมาก็คือ คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องผูก หากมีอาการที่รุนแรงก็อาจทำให้มีไข้สูง ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน หรืออุจจาระมีสีดำ การใช้โปรไบโอติกจะเข้ามาช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบได้ โดยไม่มีผลข้างเคียงเหมือนกับการใช้ยา อ้างอิง E Furrie, et al. Synbiotic therapy (Bifidobacterium longum/Synergy 1) initiates resolution of inflammation in patients with active ulcerative colitis: a randomised controlled pilot trial. Gut. 2005; 54:242–249 M.A. zocco, et al. Efficacy of Lactobacillus GG in maintaining remission of ulcerative colitis. Aliment Pharmacol Ther. 2006; 23:1567–1574