ระงับกลิ่นปากด้วย “โปรไบโอติก”

หนึ่งในปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบเจอได้บ่อยและเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ก็คือ กลิ่นปาก

เมื่อพูดถึงกลิ่นปาก จะหมายถึงกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาที่ออกมาจากปากหรือลมหายใจที่ออกมา

ใครที่กังวลเรื่องกลิ่นปากหรือรู้ตัวว่าเป็นคนมีกลิ่นปาก มาลองดูสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปากต่อจากนี้กัน เพื่อจะได้นำไปแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

กลิ่นปากอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

1.สาเหตุภายในช่องปาก ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ที่มีกลิ่นปาก

2.สาเหตุภายนอกช่องปาก เช่น การติดเชื้อของโพรงจมูกและคอหอย โรคทางเดินหายใจ มีความผิดปกติของระบบย่อยอาหารและลำไส้

3.สาเหตุทางจิตใจ เกิดจากการกังวลไปเองว่ามีกลิ่นปาก

4.สาเหตุอื่นๆ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม บุหรี่ แอลกอฮอล์

ส่วนใหญ่การมีกลิ่นปากมักมีสาเหตุจากภายในช่องปากตามที่ได้กล่าวไป ซึ่งเกิดจากการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียภายในช่องปาก เช่น Trapportuema denticols, Porphyromonas gingivalis. Prevotellit intermedin, Haemophilus species แบคทีเรียเหล่านี้จะทำการย่อยสลายกรดอะมิโนที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ จนได้เป็นสารจำพวก hydrogen sulfide และ methylmercaptan และสารที่ได้จากเมแทบอลิซึมอื่นๆ สารพวกนี้แหละที่ทำให้มีกลิ่นปากและมีลมหายใจที่เหม็นออกมา

โดยปกติการป้องกันและการกำจัดกลิ่นปากมีด้วยกันหลากหลายวิธี เช่น การแปรงฟันอย่างถูกวิธี การใช้ไหมขัดฟัน การทำความสะอาดลิ้น การขูดหินปูน การใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ เพื่อกำจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่นปาก

วิธีดังกล่าวช่วยแก้ปัญหากลิ่นปากที่มาจากสาเหตุอื่นๆได้ดีก็จริง แต่สำหรับผู้ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียภายในช่องปากอาจจะยังไม่เพียงพอ เพราะแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปากอาจกลับมาได้อีกครั้ง

การใช้โปรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ตัวดีเข้ามาช่วย น่าจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เหมาะสม เพื่อกำจัดและป้องกันการคืนกลับมาของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่นปากได้

โปรไบโอติกช่วยได้อย่างไร?

สำหรับกลไกการทำงานของโปรไบโอติกในช่องปากนั้น ได้แก่

1.การสร้างไบโอฟิล์มมาเคลือบเนื้อเยื่อในช่องปาก

2.การสร้างสารที่ต่อต้านจุลินทรีย์ก่อโรค

3.การแย่งจับกับเนื้อเยื่อในช่องปาก เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคมีที่อยู่อาศัย

4.ช่วยลดการตอบสนองต่อการอักเสบ

ตามปกติเราจะพบโปรไบโอติกได้จากอาหารหมักดอง อย่างโยเกิร์ต นมเปรี้ยว นัตโตะ กิมจิ เทมเป้ และผักดองต่างๆ แต่ด้วยปริมาณโปรไบโอติกที่จะช่วยป้องกันและรักษาโรคในช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า 10ล้านตัว การรับประทานโปรไบโอติกจากอาหารเพื่อให้ได้โปรไบโอติกที่เพียงพออาจเป็นไปได้ยาก

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรไบโอติกจึงเป็นอีกทางเลือกที่ทำให้เราได้รับโปรไบโอติกที่เพียงพอ นอกจากนี้เรายังรู้อีกด้วยว่า เราได้รับโปรไบโอติกสายพันธุ์เข้าไปบ้าง

“กลิ่นปากไม่ใช่เรื่องตลก” วลีนี้จะหายไป หากเราแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

 

อ้างอิง

Buncha luangaram. The use probiotics for oral diseases prevention: A Review. 2019

Copyright © 2024 Lish Thailand Official