ทำความรู้จักกับ “IF” และกลุ่มเสี่ยงของคนที่ไม่ควรทำ ถ้าไม่อยากร่างพังโดยไม่รู้ตัว
IF คืออะไร กลุ่มไหนบ้างที่ไม่ควรทำ IF
เมื่อพูดถึงการลดน้ำหนักที่ได้ผลเป็นอันดับต้น ๆ และยังคงเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็คงจะหนีไม่พ้นการทำ IF หรือชื่อเต็ม ๆ ก็คือ Intermittent Fasting ซึ่งหลายคนก็ต้องเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว เอาจริง ๆ วิธีนี้มีมานานกว่า 10 ปี แต่เพิ่งจะเริ่มเป็นที่นิยมในไทยได้ไม่นานมานี้ ซึ่งเดี๋ยววันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้กันว่า IF ที่พูด ๆ กันอยู่ทุกวันนี้มันคืออะไร
IF คืออะไรกันนะ
การลดน้ำหนักแบบ Intermittent Fasting เป็นวิธีที่คิดค้นโดยทีมแพทย์ โดยเป็นวิธีการลดน้ำหนักด้วยการกินอาหารเป็นช่วงเวลา และปล่อยให้ร่างกายหยุดรับอาหารเป็นช่วงเวลา ซึ่งเงื่อนไขหลัก ๆ ที่สำคัญของการ IF เลยก็คือ การงดอาหาร 1 มื้อในแต่ละวัน, งดทานอาหารมื้อดึก และกินอาหารตามปกติในช่วง 8 ชั่วโมง
ที่วิธีนี้กลายมาเป็นที่นิยมก็เพราะว่า “คนที่ลดน้ำหนักด้วยการทำ IF จะไม่เครียดกับการรับประทานอาหาร” เราจะสามารถรับประทานอะไรก็ถามแต่ต้องอยู่ในกฎของการทำ IF ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา และไม่จำเป็นต้องคำนวณแคลให้ปวดหัวอีกด้วย อันที่จริงก็มีนิดหน่อยแต่ส่วนใหญ่จะถูกปรับไปเป็น 0 แคล และนี่จึงเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนชื่นชอบการทำ IF นั่นเอง
แม้ว่าหลายคนจะบอกว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลดีมาก ๆ มีการทำวิจัยในหนูโดยการนำหนูมาทดลองให้ตัวแรกกินบ้างงดบ้างให้เหมือนกับการทำ IF ส่วนอีกตัวให้ตลอดเวลา ผลที่ได้คือหนูที่ทำ IF มีสุขภาพที่ดีกว่า
คนกลุ่มไหนที่ไม่ควรทำ IF
แม้ว่าการทำ IF จะดูเหมือนง่ายก็ตาม แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่ไม่ควรทำ IF เพราะอาจทำให้สุขภาพเสียมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้ สำหรับคนกลุ่มดังกล่าวก็คือ…
– กลุ่มที่อายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจากร่างกายยังไม่เจริญเติบโตดีพอ ทำให้การทำ IF อาจส่งผลกับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ และอาจทำให้ร่างกายเติบโตช้าหรือแม้แต่ผลกระทบต่อความแข็งแรงอีกด้วย
– ผู้ตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรจะต้องการสารอาหารที่สูงมาก เพื่อบำรุงลูกของคุณ การทำ IF จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะขาดสารอาหารได้นั่นเอง
– ผู้ที่เพิ่งผ่าตัด ร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อไปฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากการผ่าตัด การทำ IF จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
– ผู้ที่มีค่า BMI น้อย การทำ IF จะเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หากค่า BMI น้อยอยู่แล้วแสดงว่าเราผอมมาก ๆ ถ้าทำอีกจะเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารนั่นเอง
– ผู้ที่เป็นโรคพฤติกรรมการกินบกพร่อง คนที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะขาดสารอาหารอยู่แล้ว หากทำ IF ก็จะทำให้ร่างกายทรุดลงกว่าเดิม ถ้าจะทำจริง ๆ ควรรักษาตัวเองให้หายเสียก่อนแล้วค่อยทำ IF
ทั้งหมดนี้ก็คือความรู้ดี ๆ ของการทำ IF ที่เรามาแบ่งปันกันนะคะ และถ้าใครที่อยากลดสัดส่วน หรือแม้แต่น้ำหนักของตัวเอง นอกจากการทำ IF แล้ว การรับประทานตัวช่วยอย่าง Lish Flora โปรไบโอติกคุณภาพที่จะช่วยให้ระบบขับถ่ายกลับมาดียิ่งขึ้นกว่าเดิม และจากผลวิจัยร่วมกับจุฬา Lish Flora ยังช่วยเพิ่มลดน้ำหนักให้คุณได้อีกด้วย แบรนด์อื่นทำได้จริงไหมเราไม่รู้แต่ Lish Flora มาพร้อมผลวิจัยที่การันตีว่าทำได้จริง