ทุกคนย่อมรู้ดีว่าระบบการขับถ่ายถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งภายในร่างกายของเรา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำจัดของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายในทุกวัน เพื่อให้ร่างกายของมนุษย์ได้รักษาสภาวะสมดุลจากการเผาผลาญ หากแต่การทำงานของการขับถ่ายบกพร่อง อาจมีสารพิษตกค้างสะสมอยู่ภายในร่างกายจนอาจนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ เหล่านี้ได้
โรคท้องผูก (Constipation)
เชื่อว่าเกือบทุกคนเคยมีอาการท้องผูกมาก่อน เนื่องจากอาการท้องผูกเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อคนในทุกวัย พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอาการท้องผูกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับสารอาหารประเภทไฟเบอร์ไม่เพียงพอ การดื่มน้ำน้อยเกินไป การอั้นอุจจาระ ความเครียดหรืออาจเป็นผลข้างเคียงของยา ซึ่งสามารถพัฒนากลายเป็นอาการท้องผูกเรื้อรังที่รุนแรงมากขึ้นได้ และผลที่จะตามมาคือ การขับถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็ง ท้องอืด ปวดท้อง ปวดเกร็งบริเวณหน้าท้องหรืออาจนำไปสู่การถ่ายอุจจาระเป็นเลือด แต่ก่อนที่จะไปสู่อาการเหล่านั้น เราสามารถปรับพฤติกรรมของเราได้เองด้วยการดื่มระหว่างวันให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ ที่สำคัญทานอาหารที่มีไฟเบอร์เสริมด้วยโปรไบโอติกให้มากขึ้นเพื่อช่วยการทำงานของระบบขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น
โรคริดสีดวงทวารหนัก (Hemorrhoids)
จากอาการท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง อาจนำมาสู่สิ่งที่หนักกว่าอย่างโรคริดสีดวงทวารได้ ซึ่งความเสี่ยงมาจากการรับประทานอาหารที่มีกากใยต่ำหรือไฟเบอร์น้อย และอีกสาเหตุมาจากการนั่งขับถ่ายเป็นเวลานานเกินไป โดยอาการส่วนใหญ่ที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคริดสีดวงทวารมาจาก เวลาขับถ่ายจะมีลิ่มเลือดปนมากับอุจจาระด้วย มีอาการคันหรือระคายเคืองบริเวณทวารหนัก กลุ่มอาการนี้ควรไปปรึกษาแพทย์ และหันมาทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอย่างผักผลไม้ งดเว้นการทานอาหารรสชาติจัดจ้าน เพราะมักทำให้เกิดการระคายเคืองต่อลำไส้และกระเพาะอาหารได้
โรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis)
สาเหตุการเกิดของโรคลำไส้อักเสบในทางการแพทย์ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน แต่คาดว่ามาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่ายมากขึ้น และอีกสาเหตุมาจากพฤติกรรมการทานอาหาร ซึ่งอาการของลำไส้อักเสบจะมีการขับถ่ายมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ถ่ายมีเลือดและมูกปน ปวดท้อง ท้องอืดรวมไปถึงปวดเมื่อยตามตัว อาหารเหล่านี้มีวิธีช่วยด้วยการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดี อย่างซินไบโอติกเพื่อปรับสมดุลลำไส้ ช่วยลดการอักเสบและการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้
อ้างอิง:
Minesh Khatri MD on November 15, 2021, What Is Constipation?. https://www.webmd.com/digestive-disorders/
Mayo clinic, Hemorrhoids. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/แพทย์หญิง นรสรา วิทยาพิพัฒน์, ริดสีดวงทวารหนัก โรคที่มักเกิดจากพฤติกรรม. https://www.phyathai.com/article_detail/