ผลการตอบสนองของปริมาณโปรไบโอติก Bifidobacterium lactis ต่อระยะเวลาที่อุจจาระผ่านลำไส้และอาการทางระบบทางเดินอาหารในผู้ใหญ่

Dose-response effect of Bifidobacterium lactis HN019 on whole gut transit time and functional gastrointestinal symptoms in adults
ผลการตอบสนองของปริมาณโปรไบโอติก Bifidobacterium lactis ต่อระยะเวลาที่อุจจาระผ่านลำไส้และอาการทางระบบทางเดินอาหารในผู้ใหญ่
การศึกษาและงานวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา

ท้องผูกเป็นอาการที่พบได้บ่อยและเกิดได้กับคนทุกวัย  หลายๆคนก็คงเคยประสบปัญหานี้กันมาแล้วอย่างแน่นอน โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีความเสี่ยงที่จะมีอาการท้องผูกมากว่าผู้ชายถึง 2 เท่า เมื่อเกิดอาการท้องผูก สิ่งที่เราจะนึกถึงเป็นอย่างแรกเลย ก็น่าจะเป็น  ยาระบาย ดีท็อก หรือไม่ก็ทำการสวนทวาร วิธีดังกล่าวช่วยในการบรรเทาอาการได้จริง แต่ถ้าหากใช้เป็นประจำ ระยะเวลานานๆ จะทำให้ลำไส้ขี้เกียจ ไม่บีบตัวเป็นธรรมชาติ สุดท้ายลำไส้ก็จะติดยาระบาย ถ้าไม่กินก็ไม่ถ่าย กลายเป็นคนท้องผูกเรื้อรังไปซะอย่างนั้น

ปัจจุบันมีงานวิจัยทางการแพทย์มากมายที่บอกว่า โปรไบโอติก ช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้ โดยการส่งเสริมให้ลำไส้ทำงานได้เองเป็นธรรมชาติ และฟื้นฟูการทำงานของระบบทางเดินอาหารให้ดีขึ้นได้

อย่างงานวิจัยของ WALLER และคณะทีม จากประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ทำการวิจัยผลของโปรไบโอติก Bifidobacterium lactis ต่อระยะเวลาที่อุจจาระผ่านลำไส้และอาการทางระบบทางเดินอาหารในผู้ใหญ่ โดยทำการทดลองกับอาสาสมัคร จำนวน 100 คน อายุ 25-65 ปี ที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร (คลื่นไส้ อาเจียน สำรอก ปวดท้อง ท้องร้อง ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด และการเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติ) แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มแรก จำนวน 33 คน จะได้รับ High-dose (B. lactis) 17.2×109 CFU/day
  • กลุ่มที่สอง จำนวน 33 คน จะได้รับ low-dose (B. lactis) 1.8×109 CFU/day
  • กลุ่มที่สาม จำนวน 34 คน จะได้รับยาหลอก (rice maltodextrin)

ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 14 วัน แล้วประเมินระยะเวลาที่อุจจาระผ่านลำไส้ด้วยการเอกซเรย์ และใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินอาการความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ในวันแรก (0) และวันสุดท้ายของการทดลอง (14)

จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่ได้รับโปรไบโอติก High-dose และ low-dose มีระยะเวลาที่อุจจาระไหลผ่านลำไส้ลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารในกลุ่มที่ได้รับ High-dose และ low-dose มีอาการดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก หนึ่งในอาการผิดปกติก็มี อาการท้องผูกรวมอยู่ด้วย 

จึงสรุปได้ว่า อาสาสมัครที่ได้รับโปรไบโอติก Bifidobacterium lactis ในกลุ่ม High-dose และ low-dose ช่วยให้อุจจาระไหลผ่านในลำไส้ได้เร็วยิ่งขึ้น และช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้นได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก

อ้างอิง

PHILIP A WALLER, et al. Dose-response effect of Bifidobacterium lactis HN019 on whole gut transit time and functional gastrointestinal symptoms in adults. Scandinavian Journal of Gastroenterology. 2011; 46: 1057–1064

Copyright © 2024 Lish Thailand Official