เคยสงสัยไหม? ทำไมการกินยาถึงทำให้ท้องผูก
ถ้าพูดถึงสาเหตุที่ทำให้ท้องผูก หลายๆคนคงนึกถึงการกินอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย ดื่มน้ำไม่เพียงพอ และขาดการออกกำลังกาย
แต่รู้หรือไม่ การใช้ยาก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ท้องผูกได้
ยาทำให้ท้องผูกได้อย่างไร?
การเคลื่อนที่ของอาหารและกากอาหารต้องอาศัยการบีบตัวของลำไส้และทางเดินอาหาร เพื่อให้กากอาหารหรือของเสียต่างๆไหลไปรวมกันที่บริเวณทวารหนัก หากลำไส้หรือทางเดินอาหารมีการบีบรัดตัวที่ผิดปกติไป จะทำให้อาหารหรือกากอาหารผ่านได้ช้าและทำให้ท้องผูกได้
- ยาที่มีฤทธิ์ลดการบีบเกร็งของทางเดินอาหาร โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์ต้านอะเซทิลโคลีน (สารที่ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของทางเดินอาหาร) จึงทำให้ท้องผูกได้
- ยาบางชนิดมีฤทธิ์กระตุ้นตัวรับ (receptor) ที่เกี่ยวข้องกับการลดการเคลื่อนที่ของอาหารและกากอาหาร จึงทำให้ท้องผูก และการกระตุ้นที่ตัวรับนี้ยังเพิ่มการบีบรัดตัวของหูรูดทวารหนักอีกด้วย ยิ่งทำให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นไปได้ยากขึ้น
- ยาที่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ไม่ดี ทำให้ยาเหลืออยู่ภายในทางเดินอาหารปริมาณมาก ซึ่งยาบางอย่างมีฤทธิ์โดยตรงในการลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร หรือยาบางอย่างอาจรวมตัวกับอุจจาระจนเป็นก้อนแข็ง ทำให้กากอาหารเคลื่อนที่ได้ช้า และขับถ่ายได้ยากลำบาก
นอกจากนี้ยาที่ไม่ถูกดูดซึมอาจรบกวนการเจริญของจุลินทรีย์และสภาพแวดล้อมภายในลำไส้ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ท้องผูกได้
มาดูกันว่า ยาที่คุณกำลังไปซื้อ หรือยาที่คุณกำลังใช้อยู่ ยาเหล่านั้นสามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้หรือไม่?
- ยาประเภทอะลูมินัม เช่น ยาลดกรดอะลูมินัม (ตัวอย่าง ได้แก่ อะลูมินัมไฮดรอกไซต์ในยาชนิดน้ำและอะลูมินัมออกไซด์ในยาชนิดเม็ด) และซูคราลเฟต (sucralfate) ยาเหล่านี้ใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและสำไส้
- ยาลดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อ (antispasmodics) โดยเฉพาะยาที่ลดการบีบเกร็งของทางเดินอาหาร เช่น ไฟไซโคลเวอรีน (Gicycloverine) และมีบีเวอรีน (mebeverine) ยาเหล่านี้ใช้รักษาโรคหรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการบีบตัวของทางเดินอาหารที่มากเกิน เช่น โรคลำไส้ทำงานแปรปรวน (irritable bowel syndrome) ยากลุ่มนี้อาจทำให้ท้องผูกรุนแรงได้
- ยาลดความดันโลหิต (antihypertensives) เช่น โคลนดิน (clonidine) เมทิลโคพา (methyldopa) โพรพราโนลอล (propranolol) ในเฟดีพีน (nifedipine) เวอราพามิล (verapaml) และพราโซซิน (prazosin)
- ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) เช่น คลอร์เฟนิรามีน (chlorphenirarine) และโพรเมทาซีน (promethazine) ยาเหล่านี้ใช้รักษาโรคภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ
- ยาระงับปวดโอปิออยด์ (oploid analgesics) เช่น มอร์ฟีน (morphine) โคเดอื่น (codeine) ทรามาดอล (tramadol) ยาเหล่านี้ใช้ลดอาการปวดที่เกิดรุนแรงทั้งกรณีที่เกิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
- ยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม tricyclic antidepressants เช่น อะมิทริปที่อื่น (amitriptyline) และอิมพรามีน (Imipramine)
- ยาบำบัดโรคจิด (antipsychotics) เช่น อะมิซัลพรายต์ (amisulpride) คสอร์โพรมาขึ้น (chlorpromazine) และโคลซาพื้น (clozepine)
- ยาต้านพาร์กินสัน (antparkinson drugs) เช่น เอนแท็กคาโพน (entacapore) พรามเพ็กโซล (pramipexole) และเซเลจิลีน (selegiline)
- ยาต้านโรคลมชัก (antisplaptle drugs) เช่น คาร์บามาเซพีน (carbamazepine) ออกซ์คาร์บาเซพีน (oxcarbazepine) เฟนโทอิน (phenytoin) และพริกาบาลิน (pregabalin)
- ยารักษาโรคกระดูกพรุนกลุ่มบิสฟอสโฟเนต (bisphosphonates) เช่น อะเลนโตรเนต (alendronate) และไรเซโดรเนต (risedronate)
- ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal antiinflammatory drugs หรือ NSAIDs) เช่นแอสไพริน (aspirin) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) และไดโคลฟีแน็ก(diclofenac)
- ยาอื่นๆ เช่น ยาเหล็ก (Iron preparations) และยาแคลเซียม (calcium supplements)
ในบางครั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาโรคต่างๆอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้นได้ ทำได้โดยการ
- รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ หรือใยอาหารให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ ให้ได้อย่างน้อย 1.5-2 ลิตรต่อวัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้แล้ว แต่อาการท้องผูกยังไม่ดีขึ้น การรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของโปรไบโอติก จะช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของโปรไบโอติก ได้แก่ อาหารหมักดอง นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ เทปเป้ นัตโตะ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล