ผลการวิจัยโปรไบโอติกส์ควบคุมไขมันในช่องท้องของผู้ใหญ่ที่มีแนวโน้มการเป็นโรคอ้วน

Regulation of abdominal adiposity by probiotics (Lactobacillus gasseri SBT2055) in adults with obese tendencies in a randomized controlled trial

 ผลของโปรไบโอติกส์ในการควบคุมไขมันในช่องท้องของผู้ใหญ่ที่มีแนวโน้มการเป็นโรคอ้วน

 การศึกษาและงานวิจัยจาก technology & research institute ประเทศญี่ปุ่น

          ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญอันดับต้นๆของประชากรทั่วโลก ส่งผลกระทบทางสุขภาพมากมาย ทั้งผลกระทบเฉียบพลันและปัญหาเรื้อรัง ทั้งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ปัจจุบันมีวิธีการและเครื่องมือใหม่ๆออกมามากมายที่จะช่วยดูแลสุขภาพของผู้คน การรับประทานโพรไบโอติกส์เป็นอีกสิ่งที่ได้รับความสนใจมากขึ้นและมีการศึกษามากมาย ที่ชี้ให้เห็นว่า โพรไบโอติกส์นั้นมีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนักตัวและลดไขมันในช่องท้องได้

การศึกษาของ Y Kadooka และคณะทีม จากประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการวิจัยผลของผลของโปรไบโอติกส์ในการควบคุมไขมันในช่องท้องของผู้ใหญ่ที่มีแนวโน้มการเป็นโรคอ้วน ทำการทดลองกับอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 87 คน อายุ 33-63 ปี ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) 24.2-30.7 kg/m2 และมีไขมันในช่องท้อง 81.2-178.5 cm2  แบ่งกลุ่มอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม Active FM จำนวน 43 คน เป็นกลุ่มที่ได้รับนมหมักที่มี LG2055 (L.gasseri) 5×1010 cfu/100 g และกลุ่ม control FM จำนวน 44 คน จะเป็นกลุ่มที่ได้รับนมหมักที่ไม่มี LG2055 (L.gasseri) อาสาสมัครต้องบริโภคนมหมัก ครั้งละ 100 กรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ทำการตรวจวัดสัดส่วนต่างๆของร่างกาย ผลปรากฎว่า ในสัปดาห์ที่ 12 กลุ่ม Active FM (กลุ่มที่ได้รับนมหมักที่มี LG2055 (L.gasseri)) ไขมันในช่องท้องลดลง 4.6 % (-5.8 cm2) ไขมันใต้ผิวหนังลดลง 3.3%

(-7.4cm2) น้ำหนักตัวลดลง 1.4% (-1.1 kg) ดัชนีมวลกายลดลง 1.5% (-0.4 kg/m2) เส้นรอบเอวลดลง 1.8% (-1.7 cm) เส้นรอบสะโพกลดลง 1.5% (-1.5 cm) เปอร์เซ็นไขมันลดลง 0.5% และมวลไขมันในร่างกายลดลง 0.8 kg ในขณะที่กลุ่ม control FM (กลุ่มที่ได้รับนมหมักที่ไม่มี LG2055 (L.gasseri)) มีไขมันในช่องท้องเพิ่มขึ้น 1.4 cm2 ไขมันใต้ผิวหนังลดลง -1.3cm2 น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 0.3 kg ดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น 0.1 kg/m2  เส้นรอบเอวลดลง 0.0 cm เส้นรอบสะโพกลดลง -0.3 cm เปอร์เซ็นไขมันเพิ่มขึ้น 0.2% และมวลไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น 0.3 kg นอกจากนี้การตรวจวัดระดับ adiponectin ยังพบว่า อาสาสมัครที่ได้รับนมหมักทั้ง 2 กลุ่มมีระดับ Adiponectin เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์แรกของการทดลอง (สัปดาห์ที่ 0) โดย กลุ่ม Active FM (กลุ่มที่ได้รับนมหมักที่มี LG2055 (L.gasseri))มีระดับ Adiponectin เพิ่มขึ้น 0.44 µg/ml

และกลุ่ม control FM (กลุ่มที่ได้รับนมหมักที่ไม่มี LG2055 (L.gasseri))มีระดับ Adiponectin เพิ่มขึ้น 0.74 µg/ml

ผลของการทดลอง แสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่ได้รับนมหมักที่มี LG2055 หรือ L.gasseri นั้น ทำให้ระดับไขมันในช่องท้อง ไขมันใต้ผิวหนัง น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว เส้นรอบสะโพก เปอร์เซ็นไขมัน และมวลไขมันในร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์แรกของการทดลอง(สัปดาห์ที่ 0) นอกจากนี้อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มมีระดับ Adiponectin เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่ง Adiponectin เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ไขมัน มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญพลังงาน การต้านการอักเสบ รวมถึงการเจริญเติบโตของเซลล์ และการต้านการแข็งตัวของเลือด โดยผ่านกลไกที่แตกต่างกัน โดยปกติแล้ว ระดับของ Adiponectin ในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน จะมีค่าต่ำกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวหรือมีไขมันเป็นปกติ ดังนั้น การได้รับนมหมักที่มี Lactobacillus gasseri แล้วช่วยเพิ่มระดับ Adiponectin ได้ เป็นอีกสิ่งที่อาจบอกได้ว่า Lactobacillus gasseri นั้นมีส่วนช่วยในการเผาพลาญพลังงาน ลดไขมันในช่องท้อง และช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนได้

อ้างอิง

Y Kadooka, M Sato, K Imaizumi et al. Regulation of abdominal adiposity by probiotics (Lactobacillus gasseri SBT2055) in adults with obese tendencies in a randomized controlled trial. European Journal of Clinical Nutrition.  2010; 64:636–643.

ลิ้งค์เข้างานวิจัย

https://www.nature.com/articles/ejcn201019

 

Copyright © 2024 Lish Thailand Official