นึกแล้วก็หัวจะปวดดด…เชื่อว่าหลายคนต้องเคยมีปัญหาผมร่วง ไม่ว่าจะมุมไหน ๆ ก็เต็มไปด้วยเส้นผม ยิ่งปัญหาผมร่วงสะสมทุกวันจนท่อระบายน้ำตันบอกเลยว่าอยากจะบ้าตาย หรือบางคนอาจจะร่วงหนักมากจนนึกว่าตัวเองเป็นมะเร็ง แต่ในความจริงแล้ว “ผมร่วง” เป็นสภาวะปกติที่เกิดกับผมของเรา ในหนึ่งวันผมของเราสามารถร่วงได้ประมาณ 50 – 100 เส้นโดยที่ไม่เกิดผลเสียอะไร และไม่บางลง เพราะในขณะที่ผมส่วนหนึ่งเข้าสู่ระยะที่ผมร่วง เส้นผมส่วนใหญ่จะยังอยู่ในระยะเจริญเติบโตนั่นเอง
แล้วเมื่อไหร่ที่ผมร่วงจะเป็นปัญหา?
ปัญหาผมร่วงก็ต่อเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นกับร่างกายเรา จนทำให้ผมร่วงมีมากกว่า ผมที่เติบโตอยู่บนศีรษะ ผมเริ่มบางลงเรื่อย ๆ จนอาจจะเกิดศีรษะล้านได้ในที่สุด ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากพันธุกรรม ฮอร์โมน ความเครียด และยาบางชนิด
ถึงแม้ว่ายาถูกออกแบบมาเพื่อรักษาสุขภาพและสภาวะร่างกายที่หลากหลาย แต่บางครั้งก็อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ตามมา ยาบางชนิดอาจจะไปรบกวนวงจรของเส้นผม จนอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมได้ ซึ่งเราสามารถแบ่ง 2 รูปแบบ คือ ภาวะเส้นผมระยะหลุดร่วง (Telogen Effluvium) และ ภาวะเส้นผมระยะแบ่งตัว (Anagen Effluvium)
ในแบบแรก เรียกว่า ภาวะเส้นผมระยะหลุดร่วง (Telogen Effluvium) เป็นรูปแบบของผมร่วงที่เกิดจากยา ที่พบบ่อยที่สุด จะทำให้รูขุมขนเข้าสู่ระยะพักตัว (Telogen) และหลุดออกเร็วเกินไปซึ่งอาจจะมากกว่าคนปกติ 100 ถึง 150 เส้นต่อวัน
แบบที่สอง เรียกว่า ภาวะเส้นผมระยะแบ่งตัว (Anagen Effluvium) นั้นก็คือ การที่เราสูญเสียเส้นผมที่เกิดขึ้นในช่วง Anagen ของวงจรขน ภาวะนี้จะป้องกันไม่ให้เซลล์ Matrix ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเส้นขนใหม่ แบ่งตัวตามปกติ โดยมีสาเหตุ อาทิ การได้รับสารพิษ ยาเคมีบำบัด และการขาดสารอาหารมาเป็นระยะเวลานาน
ยาชนิดไหนบ้างที่ส่งผลให้ผมร่วง?
แล้วนอกจากหลาย ๆ อย่างที่เรากล่าวมาข้างต้นแล้ว ความรุนแรงของผมร่วงที่เกิดจากยา ขึ้นอยู่กับชนิดของยา ปริมาณ และความไวของร่างกายต่อยานั้น ๆ และด้วยเรื่องของยา เรามาดูกันว่ายาชนิดไหนบ้างที่มีผลต่อการร่วงของเส้นผม
- กลุ่มยารักษาสิว ไอโซเทรติโนอิน (Isotretinoin) เป็นอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ มีความสามารถในการรักษาสิวได้ดี แต่กรดวิตามินเอ ก็ส่งผลต่อวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมโดยตรง
- ยาคุมกำเนิดทั่วไป มักมีส่วนประกอบของ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสติน (Progestin) ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสามารถเปลี่ยนเป็น Dihydrotestosterone ที่มีฤทธิ์ในการทำลายรากผม
- ยาลดน้ำหนัก มักส่งผลให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลง ในบางตัวอาจมีความสามารถในการขัดขวางการดูดซึมสารอาหารสำคัญบางชนิด ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร และนำไปสู่ปัญหาผมร่วงได้ในที่สุด รวมถึงการควบคุมแคลอรีในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะทำให้รากผมได้รับพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพออีกด้วย
- ยาลดความดันโลหิต ในแต่ละตัวการออกฤทธิ์ก็จะแตกต่างกัน ซึ่งการทำงานของยาลดความดันโลหิตนี้จะส่งผลให้ระบบเลือดไหลเวียนผิดปกติไปจากเดิม วงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
- ยาลดความเครียด มักมีความสามารถในการปรับสารเคมีในสมอง ให้เกิดความสมดุลและเป็นปกติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของการหลั่งสารเคมีในสมองนี้จะส่งผลต่อวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม ส่งผลต่อการทำงานของต่อมไขมัน เกิดการหดหรือขยายของรูขุมขนนั้นเอง
จากที่ข้อมูลด้านบน แม้ว่ายาบางชนิดนั้นจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม แต่ถ้าเราจำเป็นต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่องทำให้เราไม่อาจหลีกเลี่ยงการใช้ยานั้นได้ เราอาจจะต้องทำการศึกษาถึงผลข้างเคียงก่อนเลือกรับประทานยาชนิดนั้น ๆ และวางแผนการรับมือเพื่อให้กเดิผลข้างเคียงกับเราน้อยที่สุด
วิธีแก้ปัญหาหากต้องทานยา
สำหรับการทานยาเหล่านี้หลาย ๆ คนก็คงจะมีเหตุผลที่แตกต่างกันไปตามความจำเป็น จะให้อยู่ดี ๆ เลิกก็คงจะทำไม่ได้ใช่ไหมคะ เมื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไม่ได้เราก็ต้องมาแก้ที่หลายเหตุเพื่อรักษาและบำรุงผมของเราให้กลับมาดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีหนึ่งที่คนนิยมกันก็คือ การรับประทานวิตามินเพื่อช่วยบำรุงผม ซึ่งแม้ว่าจะได้ผลก็ตามแต่การทานยากับวิตามินเยอะ ๆ อาจจะทำให้เบื่อ และยังส่งผลกับไตอีกด้วย เพราะอย่างนั้นการดูแลผมด้วย Lish Hair จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนกว่า
นอกจากที่ Lish Hair จะสามารถรักษาผมขาดหลุดร่วงได้แล้ว ใครที่มีปัญหาผมขาว ผมหงอก Lish Hair ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้เช่นเดียวกัน ผมกลับมาแข็งแรงอีกครั้งด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพ
สรุปแล้วนอกจากปัญหาในชีวิตประจำวันที่เราต้องมักเจอกันจะสามารถทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้แล้ว การรับประทานยาบางกลุ่มก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมร่วงได้เช่นเดียวกัน การจัดการปัญหาง่าย ๆ ก็คือการหาผลิตภัณฑ์บำรุงผมที่มีคุณมาจัดการปัญหานี้ หากเราจำเป็นต้องทานยาตลอดเวลา เพียงเท่านี้ปัญหาผมขาดหลุดร่วงก็จะไม่กวนใจคุณอย่างแน่นอน
อ้างอิง
โรงพยาบาลเวชธานี, มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลสมิติเวช, herbitia